53499 คำถามจาก smartboy shopping email: smartboyshopping@gmail.com วันที่ตั้งกระทู้ 21/07/23

รายละเอียดคำถาม


: Testosterone gel , AndroGel ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ชาย ในร่างกายมนุษย์มีสารเคมีที่เรียกว่า #ฮอร์โมน (#Hormone) ซึ่งมีการผลิตจากต่อมไร้ท่อที่อยู่ตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ฮอร์โมนแต่ละชนิดจะส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย ตลอดจนกระทั่งสภาพทางอารมณ์และจิตใจ #ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร? #ฮอร์โมนเพศชาย ในทางการแพทย์ที่มักจะกล่าวถึงกันบ่อย คือ #ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (#Testosterone) ที่ผลิตจากเซลล์ของลูกอัณฑะ เทสโทสเตอโรนสามารถพบได้ในเพศหญิงเช่นกัน โดยรังไข่จะเป็นอวัยวะที่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ธรรมชาติร่างกายสตรีจะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนน้อยกว่าบุรุษประมาณ 7–8 เท่า หน้าที่สำคัญของเทสโทสเตอโรน จะช่วยทำให้เกิดลักษณะร่างกายของบุรุษ เช่น มีกล้ามเนื้อ เกิดการสะสมมวลกระดูก เร่งการเจริญเติบโตของขนตามร่างกาย และของอวัยวะเพศในชายให้เจริญสมบูรณ์เต็มที่ เสียงแตกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ตลอดจนกระทั่งส่งผลต่ออารมณ์ทางเพศ การทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในมนุษย์เริ่มขึ้นหลังจากมีการปฏิสนธิในครรภ์มารดาได้ประมาณ 4–6 สัปดาห์ ช่วงนี้เทสโทสเตอโรนจะกระตุ้นการสร้างอวัยวะเพศอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีการเจริญของท่อปัสสาวะ เกิดถุงอัณฑะ และทำให้อวัยวะเพศชายมีขนาดโตขึ้นอีกด้วย ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ เทสโทสเตอโรนจะส่งผลต่อการเจริญขององคชาติในเด็กชายอย่างชัดเจน หลังการคลอดและช่วงชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ร่างกายจะมีการสร้างเทสโทสเตอโรนสูงมากขึ้นทั้งเด็กชายและเด็กหญิง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เด็กวัยรุ่นเริ่มมี กลิ่นตัว ผิวมัน มีสิวขึ้นมาก ขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ความสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระดูกเจริญเติบโตมากขึ้น และอายุช่วงวัยรุ่นเพศชาย #เทสโตสเตอโรนที่มีผลต่อหน้าที่ทางเพศ เทสโทสเตอโรนยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างอสุจิ กระตุ้นปุ่มกระสันบริเวณองคชาติให้ทำงานมากขึ้น รูปใบหน้าเริ่มเปลี่ยนแปลงและพัฒนาดูเป็นผู้ใหญ่ เริ่มชอบเพศตรงข้าม เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทั้งสิ้น #ปัจจัยอะไรที่ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดต่ำลง? ปกติในบุรุษ การสร้างฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆลดต่ำลงโดยเริ่มที่อายุประมาณ 30 ปีเป็นต้นไป และในชายผู้สูงวัย/ผู้สูงอายุมักจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากฮอร์โมนเพศชาย/เทสโทสเตอโรนต่ำมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ ไม่จำเป็นต้องเกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น มีสาเหตุและปัจจัยอื่นอีกที่สามารถทำให้บุรุษในแต่ละช่วงของอายุเกิดการขาดฮอร์โมนเพศชาย เช่น #เกิดภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะ ซึ่งพบมากในเด็กชายแรกคลอด โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวตอนคลอดต่ำเกินไป #ครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุงอัณฑะ #มารดาดื่มสุราจัด หรือสูบบุหรี่จัด หรืออยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่มากเป็นเวลานานขณะตั้งครรภ์ หรือมารดา- #บิดาเป็นผู้ที่ได้รับยาฆ่าแมลงสะสมในร่างกายมาก เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เรียกว่า Klinefelter’s syndrome ทำให้ทารกเพศชายมีโครโมโซมเพศเป็น xxy แทนที่จะเป็น xy ซึ่งเป็นโคโมโซมเพศชายที่ปกติ #ได้รับโลหะหนัก เช่น มีธาตุเหล็กในร่างกายมากเกินไปจนทำให้การทำงานของลูกอัณฑะล้มเหลว #ลูกอัณฑะได้รับบาดเจ็บ เกิดบาดแผล หรือชายที่ตัดลูกอัณฑะทิ้ง ก็จำทะให้ฮอร์โมนเพศชายขาดหายไป #การเกิดโรคคางทูม สามารถส่งผลกระทบต่อการสร้างฮอร์โมนเพศชายของลูกอัณฑะได้เช่นกัน #การบำบัดรักษาโรคมะเร็งด้วย ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีรักษาบริเวณอัณฑะหรือบริเวณอุ้งเชิงกรานส่วนที่ใกล้กับอัณฑะ #การเกิดเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง สมองส่วนไฮโปธาลามัสทำงานผิดปกติ ป่วยด้วยโรคเอชไอวี(HIV/ AIDS) ป่วยด้วยวัณโรค มีภาวะโรคอ้วน ซึ่งกลุ่มอาการโรคต่างๆดังกล่าวล้วนแล้วทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศชายลดลงทั้งสิ้น #อายุมากขึ้น เกิดการเสื่อมหรืออัณฑะทำงานได้น้อยลง #มีการใช้ยาประเภทโอปิออยด์ หรือสเตียรอยด์ อยู่เป็นประจำ ยาทั้ง 2 กลุ่มสามารถส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองและสมองส่วนไฮโปธาลามัส เป็นเหตุให้การกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศชายสะดุดลง/ลดลง #มีภาวะเครียดอย่างรุนแรงก็สามารถทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศชายหยุดลงได้ชั่วคราว สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาทั้งหมด มีทั้งปัจจัยที่ผู้บริโภค/ผู้ป่วยสามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้ แต่ปัจจัยที่มีสาเหตุจากการเกิดโรคหรือเกิดการได้รับบาดเจ็บ ต้องให้แพทย์เป็นผู้ดูแลจะปลอดภัยที่สุด #อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายเป็นอย่างไร? บุรุษที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ จะมีอาการที่โดดเด่น ดังนี้ เช่น #มีอารมณ์ทางเพศน้อยลง (Low sex drive) #การหลั่งน้ำอสุจิทำได้ยาก ด้วยฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนจะไปกระตุ้นตัวรับ(Receptor)ในสมองให้ผลิตสารประกอบไนตริกออกไซด์(Nitric oxide) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการให้สัญญาณต่อกระบวนการหลั่งน้ำอสุจิ #ปริมาณน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาแต่ละครั้งน้อยลง #เกิดอาการผมร่วงหรือหัวล้าน #อ่อนเพลียง่ายขึ้นด้วยระดับพลังงานของร่างกายลดลงจากการขาดฮอร์โมนเพศชาย #สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ มัดกล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง มีการสะสมไขมันตามร่างกายมากขึ้นจนดูเป็นคนท้วมหรืออ้วน #มีมวลกระดูกต่ำลง #มีภาวะทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า การควบคุมอารมณ์ทำได้ยากยิ่งขึ้น #สตรีที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ก็มีสัญญาณเตือนเช่นเดียวกัน อาทิ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวเพิ่ม อารมณ์ทางเพศถดถอย ซึมเศร้า กระดูกพรุน วิตกกังวล ประจำเดือนผิดปกติ ผมร่วงเช่นเดียวกับบุรุษ ไม่บรรลุจุดสุดยอดทางเพศ ตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นสามารถใช้เป็นแนวทางบ่งบอกภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายได้อย่างดี การบำบัดด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นทางเลือกที่เหมาะสมและปลอดภัย #ไปหาหมอนะครับ สามารถขอคำแนะนำและเข้ารับการบำบัดจากสถานพยาบาลต่างๆที่เปิดบริการดูแลในเรื่องฮอร์โมนบำบัดได้ทั่วไป #อย่าได้ไปซื้อหายามาใช้เอง #ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชายมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร? #ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชายจะแสดงฤทธิ์ มีกลไกการออกฤทธิ์เป็น “Anabolic-androgenic steroid” คือ ยาที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงลักษณะความเป็นบุรุษออกมา #ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชายกี่แบบ? ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชายที่ถูกสังเคราะห์เลียนแบบเทสโทสเตอโรน มีรูปแบบเภสัชภัณฑ์เป็น #ยาฉีด #ยาเจลสำหรับทาผิวหนัง #พลาสเตอร์ปิดผิวหนัง #ยาชนิดรับประทาน ซึ่งมีตัวยาสำคัญ คือ เทสโทสเตอโรนที่อยู่ในรูปสารประกอบต่างๆ ดังนี้ เช่น Testosterone undecanoate ,Testosterone cypionate , Testosterone enanthate ,Testosterone propionate Testosterone phenylpropionate , Testosterone isocaproate , Testosterone decanoate การใช้เทสโทสเตอโรนสังเคราะห์ดังกล่าว อาจเป็นลักษณะสูตรตำรับแบบยาเดี่ยว หรือสูตรตำรับผสม โดยแต่ละสูตรตำหรับยามีความแรง(Dose)ที่แตกต่างกันออกไป #Testosteroneแบบกิน ถ้ากิน Testosterone เข้าไปโดยตรง มันจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดดำที่วิ่งเข้าสู่ตับอย่างรวดเร็ว แล้วถูกตับทำลายเกือบทั้งหมด ทำให้เหลือผ่านไปสู่ร่างกายทั่วไปรวมทั้งกล้ามเนื้อได้น้อยมาก ในกรณีที่ฉีดเข้ากล้าม มันก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดหมดอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับในเลือดขึ้นสูงพรวดพราดแล้วก็ถูกทำลายไปหมดอย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นถึงแม้ฉีดเข้ากล้ามก็ออกฤทธิ์อยู่ได้ไม่นาน ดังนั้นจึงต้องหาวิธีทำให้ฮอร์โมนถูกทำลายโดยตับช้าลง หรือถูกดูดซึมจากกล้ามบริเวณที่ฉีดยาช้าลงโดยให้ค่อยๆ ปล่อยฮอร์โมนออกมาอย่างสม่ำเสมอทีละน้อย ดังนั้นหากเราต้องการเทสโทสเตอโรนทดแทน จึงต้องให้เทสโทสเตอโรนที่ให้ทางผิวหนังมี 2 แบบ มีความแตกต่างกันหลายด้าน เช่น ส่วนประกอบในตำรับ การปลดปล่อย ตลอดจนวิธีใช้ยา เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาในการรับประทานยา เช่น เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ หรือการดูดซึมยาจากทางเดินอาหารไม่สมบรูณ์ #Androgelคือยาอะไร? #แอนโดรเจล หรือ #androgel เป็นฮอร์โมนเพศชายทดแทน อยู่ในรูปแบบเจล คือ การบีบยาในแต่ละครั้งให้ปริมาณยาที่ไม่แน่นอน ต้องรอ 5 นาที เพื่อให้ยาซึมและแห้งก่อนสวมเสื้อผ้า ระบบนำส่งเทสโทสเตอโรนทางผิวหนังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีข้อดีคือ ระดับยาในกระแสเลือดคงที่ สามารถใช้ด้วยตนเอง ใช้ยาสะดวกกว่า #ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชายมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร? ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชายสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายดังนี้ เช่น ผลต่อผิวหนัง: เช่น เกิดสิว ผิวแห้ง ผมร่วง ขนดก ลมพิษ เจ็บบริเวณที่ฉีดยา(กรณีใช้ยาฉีด) ผลต่อระบบประสาท: เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน มีภาวะไวต่ออุณหภูมิที่ร้อนหรือที่เย็น เกิดความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ: เช่น หน้าอก/เต้านมโต(ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย) อาจมีอาการปวดเต้านม ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: เช่น ความดันโลหิตสูง มีอาการบวมน้ำทั่วร่างกาย ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น มีอารมณ์แปรปรวน ซึม วิตกกังวล ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ ผลต่อระบบสืบพันธุ์: เช่น ทำให้องคชาติแข็งนานเกินไป การหลั่งน้ำอสุจิมีปริมาณต่ำลง เชื้อ/ตัวอสุจิน้อยลง ผลต่อตับ: เช่น ตับทำงานผิดปกติ/ตับอักเสบ ผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย: เช่น คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น #เภสัชกรอุทัย #utaisuk #urx แหล่งข้อมูล: AndroGel (testosterone gel) 1.62% Website https://www.androgel.com/ Androgel Uses, Dosage, Side Effects - Drugs.com https://www.drugs.com/androgel.html ฮอร์โมนเพศ | HonestDocs https://www.honestdocs.co/what-is-est…/testosterone-estrogen ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter4/androgen.htm เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร, ยาทดแทนฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone replacement medication), http://haamor.com/…/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%94%E…/ เทสโตสเตอโรน Testosterone - http://xn--y3ctajw.com/ haamor.com/th/เทสทอสเทอโรน/ ยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน Antiandrogens - http://xn--y3ctajw.com/ haamor.com/th/ยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน
ยังไม่มีใครตอบคำถาม
ร่วมตอบคำถาม
ชื่อ

รายละเอียด

อีเมล์