Welcome to POMAUTOLAMPS ,
.: ยินดีต้อนรับเข้าสู่ร้าน POMAUTOLAMPS shop
 
Thai || Eng    admin  

Welcome to POMAUTOLAMPS ,
เมนูหลัก
เกี่ยวกับเรา
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
วิธีการรับสินค้า
บทความ
Webboard
code แลกลิงค์
สมัครสมาชิก
แผนที่ร้านค้า
คำนวณค่าขนส่ง
ค้นหาสิ่งของจากไปรษณีย์



หมวดหมู่สินค้า 63 หมวด
ดูสินค้าทั้งหมด
































































สมัครรับข่าวสาร

 

สินค้าใหม่
ข่าวทั่วไป

เพื่อนบ้าน





Stat

ผู้ชมทั้งหมด
6396299 ครั้ง
เปิดร้านตั้งแต่
20 มิ.ย.2551


บทความ
ไฟตัดหมอก
ในรุ่นที่มีจะถูกติดตั้งมาจากโรงงาน สวิทซ์เปิดการใช้งานนั้นบางรุ่นจะอยู่ที่ก้านสวิทซ์ควบคุมไฟส่องสว่าง(ไฟ หน้า) ลักษณะจะเป็นวงแหวน บางรุ่นสวิทซ์เปิดการใช้งานจะอยู่ที่บริเวณโคนโซล ไม่ว่าสวิทซ์จะเป็นอย่างไรก็จะมีเงื่อนไขของการใช้งานอยู่ดีว่า จะไม่สามารถเปิดการใช้งานได้ถ้าไม่มีการเปิดไฟส่องสว่างรอบรถหรือแม้กระทั่ง บางรุ่นจะต้องเปิดไฟหน้าก่อน นั่นก็หมายความว่า ทัศนะวิสัยขณะนั้นแน่นอนที่สุดจำเป็นที่จะต้องมีการเปิดไฟหน้า จากนั้นจึงทำการเปิด ได้แก่ หมอกลงจัด , ฝนตก, หิมะตก เป็นต้น หากทัศนะวิสัยที่เป็นปกติไม่ควรเปิดอย่างยิ่ง เพราะในการเปิดในแต่ละครั้งนั้น จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ขับรถยนต์ตามหลัง คือไฟจะแยงตา ( ไฟจะสว่างน้อยกว่าไฟเบรกแต่จะสว่างมากกว่าไฟหรี่ ) การที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวก็เพื่อความปลอดภัยอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ใช้อย่างถูกวิธีก็แล้วกัน

ไล่ฝ้ากระจกบังลมหลัง
รถยนต์สมัยนี้ไม่ว่ารถเก่งหรือรถกระบะแทบจะมีมาให้พร้อมสรรพ สวิทซ์ของการทำงานจะอยู่บริเวณชุดควบคุมระบบปรับอากาศ ในบางรุ่นอาจอยู่ที่บริเวณโคนโซล เงื่อนไขการทำงานก็ย่อมมีเช่นเดียวกัน คือ อย่างน้อยจะต้องมีการติดเครื่องยนต์ ถึงจะเปิดการใช้งานได้ แต่การที่จะเปิดก็จะต้องคำนึงถึงทัศนะวิสัยขณะนั้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ มีไอน้ำเกาะที่กระจกบังลมหลัง , มีการฝนตกขณะขับขี่ เป็นต้น เมื่อเปิดแล้วจะพบว่าสามารถมองผ่านกระจกบังลมหลังได้ดียิ่งขึ้น ไม่ควรเปิดหากพบว่ากระจกบังลมหลังนั้นแห้ง ( ไม่เปียก ) เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้น ขอให้สังเกตตรงจุดนี้ไว้ด้วยครับ แต่สำหรับรถยนต์บางรุ่นนั้นมีการตัดการทำงานโดยอัตโนมัติก็แล้วไป และในการเปิดไล่ฝ้ากระจกบังลมนั้นจะไม่รบกวนต่อผู้ร่วมใช้เส้นทางท่านอื่น ครับ รถของเราคันเดียว

การเปิดไฟสูง
ตำแหน่งไฟสูงจะถูกบรรจุมาในรถยนต์ทุกคัน สวิทซ์การทำงานจะอยู่ที่ก้านควบคุมไฟหน้า หากมีการเปิดใช้งานจะมีสัญลักษณ์ไฟสีฟ้าปรากฏขึ้นบนมาตรวัด ในการเปิดใช้งานจะต้องคำนึงถึงผู้ร่วมใช้เส้นทางท่านอื่นที่ใช้รถยนต์ ตลอดจนผู้คนที่ใช้เส้นทางด้วย เพราะจะมีความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นกับเขาได้นั้นเอง เมื่อเปิดไฟสูงแสงสว่างจากไฟจะทำให้ผู้ร่วมใช้เส้นทางหน้ามืดมองไม่เห็นเส้น ทาง ดังนั้น การเกิดอุบัติเหตุจะสูงมากๆ หากมีการใช้เส้นทางแต่เพียงผู้เดียวสามารถกระทำได้ เช่น ไม่มีรถยนต์ที่ขับสวนทางมา , ไม่มีผู้คนอยู่ในบริเวณนั้น เป็นต้น เพราะจะเพิ่มทัศนะวิสัยของเส้นทางในยามค่ำคืนได้ดียิ่งขึ้นความปลอดภัยของท่านก็ย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ

ไฟตัดหมอกหน้า
ลักษณะของไฟตัดหมอกหน้านั้น มีด้วยกันหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ให้ประโยชน์ทางด้านความปลอดภัยเช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้งานให้ถูกวิธีเท่านั้น หากมีการเปิดไฟตัดหมอกหน้า จะช่วยเพิ่มทัศนะวิสัยการขับขี่ในยามค่ำคืน ในทิศทางทางด้านหน้าของรถยนต์ ทางด้านกฎหมายก็มีการบังคับว่าจะต้องมีการใช้งานที่ถูกต้อง มิฉะนั้นอาจถูกเรียก จับ-ปรับได้ เช่น ระดับของไฟ , สีของไฟ , จะเปิดได้เมื่อจำเป็นเท่านั้น เป็นต้น แต่ถ้ารถยนต์ของท่านผู้อ่านทุกท่านมีมาจากโรงงานและไม่มีการปรับแต่งใดๆ อันนี้ถือว่าถูกต้อง สวิทซ์ของการทำงานว่าอยู่ตำแหน่งใดนั้น แล้วแต่รุ่นของรถยนต์นั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่บริเวณตำแหน่งของผู้ขับขี่ ส่วนทางด้านเงื่อนไขของการทำงานนั้นส่วนใหญ่แล้ว จะต้องเปิดผ่านไฟหรี่ก่อนถึงจะทำเปิดไฟตัดหมอกหน้าได้ หากมีข้อสงสัยสามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้รถครับ

ฉีดน้ำล้างกระจก
สิ่งนี้จะถูกติดตั้งมาในรถยนต์ทุกคัน ท่านเจ้าของรถยนต์ก็มีอยู่หลายท่านเช่นกัน ที่ได้มองข้ามตรงจุดนี้กันไป เรียกว่าถึงขั้นลืมกันทีเดียวหรืออาจจะไม่เคยถูกใช้งานเลยก็ว่าได้ อยากเรียนท่านเจ้าของรถยนต์ทุกท่านว่า ควรมีการใช้งานบ้าง ไม่ว่าจะที่กระจกบังลมหน้าหรือกระจกบังลมหลังก็ตาม ( ถ้ามี ) เพราะถ้าหากไม่มีการใช้งานในระยะเวลาที่นาน จะทำให้หัวฉีดของน้ำล้างกระจกนั้นเกิดอาการอุดตันได้



หากพบว่าฉีดน้ำกระจกไม่ออกให้ทำการทำความสะอาดที่ หัวฉีดน้ำล้างกระจกโดยการหาเข็มแหลมๆแยงรูที่หัวฉีดพร้อมกับทำการฉีดน้ำ ล้างกระจกไปพร้อมๆกัน (อาจจะต้องมีคน 2 คน) และอีกอย่างหนึ่งถ้าระดับของการฉีดไม่ได้ระดับ ก็ให้ทำการปรับในคราวเดียวกันได้เลย แต่ถ้าทำแล้วไม่สำเร็จตรงจุดนี้คงจะต้องให้ช่างแก้ไขต่อไป ขอแนะนำว่า ไม่ควรทำการฉีดน้ำล้างกระจกนานเกินไปเพราะจะทำให้มอเตอร์ฉีดน้ำกระจกเกิดการ เสียหายได้ อีกอันหนึ่งคือ ควรเติมน้ำล้างกระจกที่ถังพักด้วยนะครับ
ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ
ระบบดังกล่าวจะอำนวยความสะดวกขณะเดินทางไกล สามารถลดอาการเมื่อยล้าของผู้ขับขี่ได้ในระดับหนึ่งเลยที่เดียว ทำให้ผู้ขับขี่ผ่อนคลายอย่างชัดเจน เพียงแต่ว่าต้องใช้ให้ถูกวิธีเท่านั้น เงื่อนไขของการทำงานนั้นก็มีอยู่หลายประการเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ความเร็วจะต้องเกิน 40 กม/ชม ขึ้นไป , ตำแหน่งของเกียร์จะต้องอยู่ในเกียร์เดินหน้า ไม่ D หรือ 3 , ฝนตกถนนลื่นไม่ควรใช้ ทำนองอย่างนี้ เป็นต้น ตรงจุดนี้หากผู้ขับขี่ไม่เข้าใจ สามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้รถ หรือสอบถามผู้ที่มีความชำนาญก็ย่อมได้ ต้องขอบอกว่าหากได้ใช้งานแบบมีความชำนาญแล้วละก็ รับรองว่าท่านผู้ขับขี่จะพบกับความสบายยิ่งขึ้น แน่ๆครับ

มารู้จักกับไฟ ซีนอล กันคับ ( Xenon )
1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)
เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar
พวกแข่งขันชิงสาว ชิงถ้วยรางวัลจะอัดกันที่ 2.4-2.5 bar ก่อนเครื่องกระจาย

2. แก็สในหลอด xenon เป็นแก๊สเฉื่อยชื่อ xenon และมีแก๊สอื่นๆปนหลายอย่าง

3. ไฟที่ใช้จุดหลอด xenon ให้ทำงาน มีแรงดัน 12,000-18,000 volts! เพราะแก๊สหรืออากาศปกติ ก็มีความต้านทานไฟฟ้าสูงมากๆ (เกือบอินฟินิตี้ .. ร้อยๆล้านโอห์มเลย) ยิ่งแก๊สในหลอด xenon ของเรา มีแรงดันสูง ยิ่งต้องใช้ไฟแรงสูงให้มันกระโดดข้ามได้ ที่เรียกๆ กัน (ผิดๆ) ว่ากล่องรีเลย์ หรือ (เรียกถูกต้องว่า) กล่องบัลลาสท์ มีหน้าที่นี้แหละ ... แปลงแรงดันจากไฟแบต 12 volts ให้สูงถึงเกือบสองหมื่นโวลท์
แต่เมื่ออาร์คเกิดแล้ว กล่องจะต้องลดแรงดันเหลือ 100-200 volts เพราะลำอาร์ค มีความต้านทานต่ำ (100 โอห์ม)
เมื่อลำอาร์คเสถียร ให้แสงสว่างเต็มที่ ความต้านทานจะลดลงอีก กล่องจะต้องลดแรงดันลงอีก ไม่อย่างนั้น ไหม้แน่นอน

การทำงานทุกอย่างที่ว่ามา ต้องเสร็จภายใน 1-2 วินาที กล่องบัลลาสท์ดีๆ ถึงได้แพงระเบิด

คำเตือน คำเตือน คำเตือน

แรงดันไฟฟ้าในกล่องบัลลาสท์ เป็นไฟฟ้าแรงดันสูงมาก (20,000 volts) และมีพลังงานสูงมาก
(200-300 joules) สามารถฆ่าคนถึงตายได้

4. เมื่อหลอดสว่างเต็มที่ แรงดันในหลอดจะสูงขึ้น 30-40 bar อุณหภูมิในหลอด จะสูงประมาณ 1200 องศาซี ความร้อนนี้ ลดลงไม่ได้ เพราะถ้าลดลง ลำอาร์คซึ่งเป็นพลาสมา จะดับทันที .. ถึงทำให้หลอดมีขนาดใหญ่มากไม่ได้ หลอดแบบนี้ ถ้าเป็นหลอดใหญ่ๆ จะใช้เป็นไฟส่องสว่างถนน
หลอดถึงต้องมีซีลสองชั้น .. กันระเบิด

หลอดธรรมดาๆ มีอุณหภูมิภายในแถวๆ 700 องศาซี และอุณหภูมิที่ผิวหลอดแก้ว ร้อยกว่าองศาเท่านั้น

5. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K เสมือนร้อนกี่ K นะ
ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง

6. ถ้าไปดู website ของ บ.ที่ผลิตหลอด xenon ระดับยักษ์ใหญ่ จะพบความจริงที่น่าตกใจ ที่เหมือนกันหมด ทุกบริษัทพูดเหมือนกันหมด คือ
หลอดซีนอนในรถยนต์ ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย
หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K
xenon ของ BMW/Benz มีค่าองศาสี แค่ 4300K เท่านั้น ... แต่ความสว่างแถวๆ 3,000-3,500L

หลอดโรงงานยี่ห้อดังๆ มีองศาสีสูงสุด 6000K

พวก 10,000-12,000K ... บ.ยักษ์ใหญ่ ไม่กล้าเอาผลิตใต้ชื่อตัวเอง ... กลัวโดนฟ้อง เพราะความสว่างแค่ 1,600-1,800L เท่านั้น

7. หลอดไฟมีไส้ธรรมดาๆ จะมีความสว่าง 1,200-1,500L และให้อุณหภูมิสีอยู่ที่ 2,800-3,200K
หลอด superbright จะสว่าง 1,500-1,800L และให้สีเสมือนมีอุณหภูมิ 3,300-3,500K

หลอดไต้หวันราคาถูกๆ จะสว่าง 1,800-2,000L โดยการเพิ่มขนาดของไส้หลอด ความต้านทานไส้ลดลง กินกระแสไฟฟ้ามากขึ้นเป็น 100-110w แทนที่จะเป็น 50/55w เหมือนหลอดธรรมดาๆ ... ไฟรถมีแรงดัน 12v หมายถึงกระแสไฟฟ้าไหลเข้าหลอด 10A แทนที่จะเป็น 5A

จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที กระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้ามากขึ้น (10A) จะทำให้ขั้วหลอดที่ไม่ดี
(มีความต้านทาน) ร้อนจัดจนขั้วละลายได้
จะมีรีเลย์ (ไม่ใช่ดีเลย์) หรือไม่ก็ตามที ... พลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแสงสว่างทั้งหมด แต่กลายเป็นพลังงานความร้อน(สูญเปล่า)
ความร้อนที่มากขึ้น เกินปกตินี้ จะทำให้ปรอทที่ฉาบไว้บนโคม ไหม้ หรือระเหย (หมอง)
ความร้อนไส้หลอดที่มากเกิน จะทำให้ไส้ขาดเร็ว

8. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง
หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว) ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า
อันตรายไหมหละ?

9. หลอดไฟมีไส้ ทำงานโดยการเผาไส้หลอด (ด้วยกระแสไฟฟ้า) ให้ร้อนแดง ... ไส้หลอดจะระเหยออกไปบ้างเล็กน้อย ระเหยไปเคลือบที่ผิวหลอดด้านใน ใช้ไปนานๆ ไส้หลอดบางลง หลอดขาดหรือ ไส้หลอดยังไม่ทันบาง ไอโลหะเคลือบผิวหลอด จนแสงส่องผ่านน้อยลง (เหมือนฟิล์มปรอท) หลอดจึงบรรจุธาตุพวก halogen และแก๊สเฉื่อย ไว้เล็กน้อย เพื่อให้เกิด Halide cycle ซึ่งทำให้กระบวนการที่ว่ามาข้างบน
ไม่เกิดขึ้น

แต่ถ้าไส้หลอดร้อนจัดเกินไป กระบวนการ halide cycle ทำงานไม่ทัน ... ไส้หลอดขาดพั้วะ!
หลอด 100/110w ... สว่างจริง ขาดเร็วจริง เวลาเราเปลี่ยนหลอดไฟหน้า เราเปลี่ยนสองข้าง
(ก็อยากแต่งซิ่งนี่นา หรือใครเปลี่ยนข้างนึง 50w อีกข้าง 100w?) เวลาขาด .. มันจะขาดไล่เลี่ยกันมาก
เพราะอะไร?
ถ้าใส่ relay แยก หลอดใครหลอดมัน ก็แล้วไป
แต่ถ้าไม่ใส่ .. จะมีแรงดันตกคร่อมสูญหาย ในระบบสายไฟส่องสว่าง
V = IR
ตอนที่หลอด 2 หลอดทำงาน V ตกคร่อม = (I1 + I2) * R
เนื่องจาก I1 = I2 ฉนั้นแรงดันตกคร่อมสูญหาย = 2*I*R
แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - 2*I*R

แต่เมื่อหลอดหนึ่งขาด ไฟตกคร่อมจะเหลือ I*R
แรงดันไปถึงขั้วหลอดคือ E - I*R

หลอดที่ปริ่มๆจะขาด โดนแรงดันเพิ่ม ถึงจะอีกนิดก็เหอะ ... ขาดไหมหละ?
คำถามบ่อย & คำตอบไม่บ่อย
1.ค่า K ของหลอดไฟมีผลต่อความสว่างและสีของแสงที่ออกมาไหม

มีผล
ค่า K คือ อุณหภูมิสี (ไม่ใช่อุณหภูมิของไส้หลอด)ของแสงที่ออกมา โดยเทียบกับสีของของที่เผาจนร้อน จนอุณหภูมิที่ระบุ (กี่ K ก็ว่าไป)
หลอด 5000k คือ หลอดที่มีสีสันของแสงไฟ เหมือนของที่เผาจนร้อน 5500 องศา Kelvin

เน้น ... เน้น .... เน้น ...
สีสัน ไม่ใช่ความสว่าง และ ...
K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง
ยิ่งหลอด xenon ยิ่งเห็นผลชัด หลอด 4100k ให้ความสว่างประมาณ 3500 lumens ในขณะที่หลอด 10,000-12,000 ให้ความสว่างไม่เกิน 2000 lumens

บ.ผลิตหลอด xenon ยี่ห้อดีๆ จะไม่ผลิตหลอดที่สีไฟเกิน 5500k โดยใช้ชื่อของบริษัทเองครับ
หลอดมีไส้ทั่วๆไป ให้ความสว่าง 1200-1800 lumens

2. ค่า K มีผลต่อความร้อนภายในโคมไฟหน้าไหม

ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด
ความร้อน และความสว่าง ขึ้นกับจำนวนวัตต์ของหลอด

3.ถ้า ค่า K มากๆจะทำให้โคมไฟหน้าขุ่นหรือละลายไหม (ถ้าเป็นโคมพลาสติก)
แล้วสรุปว่าค่า K คืออารัย? ประโยชน์คืออะไร? ยิ่งมาก ยิ่งทำไมหรือ?

ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ฉะนั้น จะขุ่นหรือไม่ขุ่น ไม่ได้เกี่ยวกับค่า K
K ยิ่งสูง ก็แค่สวย
และที่เข้าใจผิดกันมากๆๆ คือ ค่า K ที่เหมาะสมที่สุดนั้นคือ 4100-5500 เท่านั้น (สีเหลือง หรือ เหลือง-ขาว)
เพราะในเวลากลางคืน ตาคนเรา ไวต่อแสงที่มีโทนสีร้อน (เหลือง) มากกว่าโทนสีเย็นหลายเท่า
ยิ่งแสงไฟ มีโทนสี K สูงเท่าไหร่ แสงที่สะท้อนกลับจากพื้นถนน หรือ วัตถุอื่นๆ จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ และเห็นไม่ชัดมากขึ้น

ถ้าของที่มีโทนสีสูง (K สูง) ดีกว่า K ต่ำ .. เราคงเห็นเส้นถนน ที่ระบุถึงอันตราย เป็นสีขาวอมม่วง แทนที่จะเป็นสีเหลืองไปนานแล้วครับ

4. หลอด xenon กินไฟน้อยกว่าหลอดธรรมดา แล้วทำไมฟิวส์เดี๋ยวขาดๆ หละ?

ตัวหลอด ไม่กินไฟ แต่บัลลาสท์กิน และยัดจ่ายไฟให้หลอด ต้องรักษาพลังงานให้คงที่ (P=35 watts +/- 10%)

ตอนเริ่มทำงาน วงจรภายในต้องดึงพลังงานมาสะสมในกล่อง .. เพื่อการจุดอาร์คด้วยพลังงานสูงมาก หลายๆครั้ง ได้พอเพียง

ก็เหมือนกับเล่นซับ ในเครื่องเสียง
แอมป์ 100 วัตต์ ขืนต่อฟิวส์ 100/12 .. 8 แอมป์เข้าไป ฟิวส์ขาดกระจาย! เพราะมันสามารถอัดได้ (สั้นๆ) ถึง 400 วัตต์

แค่ไฟแฟลชถ่ายรูปดวงกระจิ๋ว วงจรภายในยังต้องสะสมพลังงานไว้ถึง 15-50 joules เลย ... มากพอที่จะทำให้คนแกะไฟแฟลชออกมาเล่นโดยไม่รู้เรื่อง ร่วงลงไปกองกับพื้น
เสีย 2 หมื่นซื้อ Xenon ได้กลับมาแค่ฮาโลเจนคู่เดียว
บทความโดยคุณ Achura

ไม่รู้ว่าพาดหัวแรงไปหรือเปล่า แต่เรื่องของเรื่องคือ เพราะผมมีความปรารถนาอย่างแรงที่จะเปลี่ยนไฟหน้าของเจ้า SXV20 ตัวเก่งจากแบบฮาโลเจนไปเป็นแบบซีนอน (Xenon) หรือ HID (High Intensity Discharge) ด้วยคาดหวังว่ามันจะสว่างกว่าเดิมและโดยไม่ไปรบกวนสายตาคนที่ขับรถสวนมา
ปัจจุบันมีชุดคิต HID วางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่หลายยี่ห้อ จากหลายตัวแทนจำหน่าย และในหลายระดับราคา ไล่ตั้งแต่แถวๆ 1 หมื่นบาทไปจนถึง 2 หมื่นกว่าบาท คำถามคือ "แล้วจะเลือกอย่างไหนดีล่ะ อย่างถูกหรืออย่างแพง แล้วยี่ห้อไหนดี" สถานการณ์บังคับให้ผมต้องเข้าเน็ต สถานที่ที่หลายคนบอกว่าคือห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจ จนกระทั่งได้พบกับสัจธรรม "เดิมๆน่ะ ดีอยู่แล้ว"

ทำไม??? ก็เพราะ

1.ค่า K ที่เขาใช้โฆษณา เช่น 7000K หรือ 12000K นั้น ไม่ใช่ตัวที่บ่งบอกถึงความสว่าง แต่เป็นค่าที่ใช้บอกเฉดสีของแสง

2.ความสว่างมีหน่วยเป็นลูเมนส์ (lm) แต่ค่า K หรือเคลวิน เป็นหน่วยของอุณหภูมิสี (Color Temperature)

3.ค่า K ของ HID จะแปรผกผันกับความสว่าง

4.HID ที่สว่างที่สุดคือ 4100K ซึ่งเป็น OEM ของรถทั่วโลก โดยมีค่าความสว่างอยู่ที่ 3200 ลูเมนส์

5.HID 5800K จะสว่างแค่ 2400 ลูเมนส์

6.HID 8000K จะสว่างเพียง 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน 100 วัตต์

7.HID 12000K จะมีค่าความสว่างต่ำกว่า 2000 ลูเมนส์ (ผมเดาเอาว่าอยู่แถวๆฮาโลเจน 100 วัตต์นั่นแหละ ซึ่งเป็นที่มาของหัวเรื่อง)

8.HID 12000K-30000K จะเป็นแสงสีม่วง ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อแสง "อุลตร้าไวโอเลต" (Ultra Violet) หรือ "แบล็คไลท์" (Black Light) (คิดดูสิว่ามันจะมองเห็นอะไรมั้ย)

9.HID 12000K แม้จะมีความสว่างเท่ากับหลอดฮาโลเจน หรือใกล้เคียง แต่มีข้อเสียมากกว่าคือ แสงฟุ้งกว่า ซึ่งเป็นธรรมชาติของแสงสีน้ำเงิน/ม่วง ทำให้ยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้ นอกจากนี้แสงสีน้ำเงิน/ม่วงของ HID 12000K ยังทำให้เราต้องใช้สายตาเพ่งมองวัตถุ เช่น ถนน มากกว่าปกติด้วย ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายและเร็วกว่า

10.โคมรถ SXV20 ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับไฟ HID ดังนั้นถ้าเอาชุด HID ใส่เข้าไป อาจทำให้แสงฟุ้งยอนตาคนที่ขับรถสวนทางมาได้ ปรับระดับโคมอย่างไรก็ไม่หาย เนื่องจากจุดกำเนิดแสงเปลี่ยนไป (บางยี่ห้อก็ไม่เพี้ยน) อันเป็นผลจากหลอด HID ที่มีดีไซน์ต่างไปจากหลอดฮาโลเจน (อันนี้วิศวกรน่าจะเข้าใจดี ส่วนคนอื่น ถ้าไม่เข้าใจ ก็ให้ถามวิศวกร)

HID (High Intensity Discharge) คือเทคโนโลยีไฟส่องสว่างที่ต่างไปจากระบบฮาโลเจนปกติ แสงของหลอดฮาโลเจนจะเกิดจากการเปล่งแสงของขดลวดความต้านทาน ขณะที่แสงของ HID จะเกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้วิ่งผ่านก๊าซซีนอน คล้ายกับการทำงานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ การสปาร์คครั้งแรกจะใช้แรงดันไฟสูงถึง 25,000 โวลต์ ก่อนจะลดระดับลงมาเป็นไฟเลี้ยงที่ 35 วัตต์ 12 โวลต์

ข้อดีของ OEM HID 4100K คือ

1.กินไฟต่ำกว่าฮาโลเจน 3 เท่า (HID = 35 วัตต์, halogen = 55-100 วัตต์)

2.สว่างกว่าฮาโลเจน 4 เท่า (HID = 2400-3200 ลูเมนส์, halogen = 800-1700 ลูเมนส์)

3.มีความเข้มของแสงสูงกว่าฮาโลเจน 10 เท่า (HID = 202,500 แรงเทียน, halogen = 21,000 แรงเทียน)

4.อายุใช้งานนานกว่าฮาโลเจน 6 เท่า (HID = 2500 ชั่วโมง, halogen = 400 ชั่วโมง)

5.มีอินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตต่ำกว่าฮาโลเจน ทั้งนี้อินฟราเรดและอุลตร้าไวโอเลตคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการล้าทางสายตา ทั้งของผู้ขับขี่เองและผู้ร่วมทาง

6.อุณหภูมิสีของ HID เป็นระดับที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติมากที่สุด และทำให้เห็นภาพวัตถุได้ชัดเจนที่สุด

7.หลอดฮาโลเจนที่มีอุณหภูมิสีระหว่าง 2300K-4000K จะมีความสว่างน้อยกว่าหลอดฮาโลเจนธรรมดา เพราะใช้ฟิลเตอร์ในการเปลี่ยนสีของแสง

8.แสงของ HID จะไปได้ไกลกว่า กว้างกว่า และมีแพ็ตเทิร์นของแสงที่ชัดเจนกว่า

ฟิลิปส์ (Philips) และออสแรม (Osram) คือ 2 ซัพพลายเออร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผลิต HID ส่งให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทั้งค่ายยุโรปและค่ายญี่ปุ่น โดย HID ของฟิลิปส์และออสแรมจะมีอายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 2000-2500 ชั่วโมง และมีอุณหภูมิสีอยู่ระหว่าง 4100K-5800K ซึ่งจะให้แสงใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด ส่วนอุณหภูมิสีที่สูงกว่านี้จะออกโทนฟ้า น้ำเงิน และม่วง ตามลำดับ

ทั้งฟิลิปส์และออสแรมไม่มีรายใดที่ผลิตหลอด HID ที่มีอุณหภูมิสีเกิน 6000K ดังนั้นหากพบชุดคิตที่มีอุณหภูมิสีสูงเกิน 6000K และบอกว่าเป็นฟิลิปส์หรือออสแรมทั้งชุดแล้ว สันนิษฐานไว้ก่อนว่าปลอม เพราะส่วนใหญ่ที่เห็นจะเข้าลักษณะว่า เฉพาะบัลลาสต์เท่านั้นที่เป็นของฟิลิปส์ แต่หลอดเป็นยี่ห้ออื่น

คุณกำลังเข้าใจผิด

ปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายรายที่ผลิตชุดคิต HID 7000K, 8000K ไปจนถึง 12000K ออกจำหน่าย หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าหลอดซีนอน 7000K-12000K สว่างกว่า, คุ้มกว่า และประสิทธิภาพสูงกว่าหลอด OEM 4100K ความจริงคือ อุณหภูมิสี (เคลวิน; K) จะแปรผกผันกับความสว่าง (ลูเมนส์; lm) นัยหนึ่งคือถ้าค่า K สูงขึ้น ความสว่างจะน้อยลง

ตัวอย่างเช่น หลอด Philips OEM D2S 4100K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 3200 ลูเมนส์ ส่วนหลอด Philips Ultinon D2S 5800K ที่ 12.8 โวลต์จะให้ความสว่างที่ 2400 ลูเมนส์ ขณะที่บริษัทวิชั่น (Vision) ประเทศเกาหลี ระบุว่า หลอด 8000K ของวิชั่นจะมีความสว่างที่ 2000 ลูเมนส์ เทียบกับ 1700 ลูเมนส์ของหลอดฮาโลเจน (เดาว่าน่าจะเป็น 100 วัตต์) และ 800 ลูเมนส์ (หลอดฮาโลเจน 55 วัตต์)

ยิ่งกว่านั้น อุณหภูมิสีที่สูงยังฟุ้ง (Glare) เข้าตาผู้ร่วมทาง และทำให้เกิดอาการล้าทางสายตาได้ง่ายกว่าด้วย ทั้งนี้การวิจัยของบริษัทในเยอรมนี, ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริการะบุว่าอุณหภูมิสีที่ใกล้เคียงแสงธรรมชาติที่สุด มองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนที่สุด และทำให้เกิดความเมื่อยล้าทางสายตาน้อยที่สุดคือ 4100K

สำหรับรถยุโรป เช่น Benz, BMW และ Audi ถ้ามองผ่านๆจะเห็นว่าไฟหน้า HID ของรถทั้ง 3 ยี่ห้อเป็นสีม่วง ทั้งๆที่ความจริงแล้วทั้งหมดใช้หลอด 4100K นั่นเป็นผลจากส่วนประกอบของโคมไฟหน้า ไม่ว่าจะเป็นตัวโปรเจกเตอร์ เลนส์ โคมสะท้อนแสง หรือแผ่นชิลด์ ที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นเดียวกับแก้วปริซึม

เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีพลังงานสูงสุดและไปได้ไกลที่สุดเทียบกับแสงสี อื่น ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้วจะพบว่าแสงสีม่วงหรือน้ำเงินที่ออกมาจากโคมไฟหน้า ของรถ BMW นั้น จะออกมาเฉพาะตรงขอบด้านข้างหรือด้านบน/ล่างเท่านั้น พื้นที่ตรงกลางยังคงเป็นแสงสีขาวปกติ

การใช้ HID สีน้ำเงินหรือม่วงไม่เพียงแค่ทำให้สมรรถนะของระบบไฟหน้าลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายกับผู้ร่วมทางด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถสวนมา เพราะแสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีการกระจายตัวสูง บุคลิกของมันจึงชอบแพร่กระจายออกไปทางด้านข้างมากกว่าจะพุ่งตรงไปข้างหน้า ผลก็คือเกิดการฟุ้งของแสงออกนอกแพ็ตเทิร์นที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้ออกแบบไว้ และยอนเข้าตาของผู้ที่ขับรถสวนทางมา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุรุนแรงได้

แสงสีน้ำเงินยังทำให้ทุกอย่างบนถนนเป็นสีน้ำเงินตามไปด้วย แถมความสว่างก็อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้องเพ่งและใช้สายตามากกว่าปกติ นัยหนึ่งคือสายตาจะล้าเร็วและง่ายกว่า เทียบกับแสงจากหลอดฮาโลเจน

ด้วยเหตุนี้ ทหารจึงระบุให้ใช้แสงสีแดงในการส่องดูแผนที่หรือตารางต่างๆในตอนกลางคืน มากกว่าจะใช้แสงสีอื่น เพราะแสงสีแดงจะตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงิน ไม่เบิร์นสายตา ทำให้ไม่ต้องปรับสายตามากนักเวลาที่อ่านแผนที่เสร็จแล้วกลับไปมองผ่านความ มืดอีกครั้ง ตรงกันข้ามกับแสงสีน้ำเงินที่จะทำให้ตาคุณบอดไปชั่วขณะหนึ่ง

นอกจากนี้ แสงสีฟ้าหรือม่วงยังมีความเข้มของแสงต่ำกว่าแสงสีขาว เพราะแสงสีขาวเป็นแสงที่เกิดจากการรวมกันของแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน และเหลืองในสัดส่วนที่เท่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความเข้มกว่าแสงสีใดสีหนึ่งอยู่แล้ว
HID 8000K แสดงให้เห็นการฟุ้งของแสง ไม่สามารถควบคุมได้ สังเกตจากเส้นตัด (Cut Off) ที่ไม่ชัดเจนระหว่างส่วนสว่างกับส่วนมืด

HID 4100K เส้นตัดจะชัดเจน แสงไม่ฟุ้ง

ลองทำใจเย็นๆ ก่อนไปค้นหาคำว่า xenon, ซีนอน, ซีนอล ในเวบบอร์ดรถยนต์ต่างๆของไทย จะพบว่า ในบรรดาผู้ที่ติดตั้งไปก่อนแล้ว เจอปัญหาเพียบ

นี่คือ ปัญหาที่ผมรวบรวมมาจากเกือบสิบเวบบอร์ด (อคติของผม) ที่เกิดจากไฟซีนอน (อันติดตั้งผิดๆ)
มีไม่กี่ปัญหาหรอกครับ แต่ผลคือ .. ขายทิ้งกันเป็นทิวแถว! หลายๆคน ติดไปได้แค่ 2 อาทิตย์ก็ขายทิ้ง ...

1. ไฟที่ค่า K สูงๆ (เกิน 10,000) สวยมาก แต่มองถนนมืดๆ ไม่เห็น โดยเฉพาะถนนแคบๆ ต่างจังหวัด ที่ข้างทางเป็นหญ้า แม้ในถนนหลวงสายเมน บางแห่ง แทบมองไม่เห็นเส้นขอบทางด้วยซ้ำไป

2. หนักที่สุดคือ ไฟที่ค่า K เกิน 10,000 ในโคมแบบเก่า จะโดนฝนไม่ได้เลย

หลายๆคน ในหลายๆกระทู้ เข้ามาบอกเพื่อนๆว่า ตอนฝนตก ต้องปิดไฟต่ำ (xenon) แล้วเปิด spot light เอาแทน

หน้าหนาว .. ฝนไม่ตกแล้ว หมอกแถวๆกรุงเทพก็ไม่มี กว่าจะรู้อีกที ก็ต้องปีหน้า

3. ไฟต่ำ สว่างกว่าไฟสูง เมื่อโดนรถสวนดิ๊ปไฟเตือน ไม่สามารถดิ๊ปไฟตอบได้ว่า ฉันกำลังใช้ไฟต่ำอยู่นะ
เพราะดิ๊ปไป เขาก็ยังมองไม่เห็นอยู่ดี

4. ปัญหาข้อสาม ยิ่งเป็นหนักกับรถที่ใช้หลอด H4 แบบที่แปลงเอาจากหลอด D2 เพื่อไปใส่โคมรุ่นเก่า เพราะตำแหน่งของไส้หลอด (จุดเกิดแสง) ของหลอด ไม่ตรงกัน การดัดแปลง จะทำโดยเอาหลอดไส้เดี่ยว (H1) มาวางข้างๆหลอดซีนอน โดยภาวนาว่า มันจะตรงตำแหน่ง ทั้งที่รู้ๆอยู่ว่า ตำแหน่งไส้ไฟสูงไฟต่ำในหลอด H4 มันมีตำแหน่งเป๊ะๆของมัน ผิดไปแค่มิลลิเมตรเดียวก็ก่อปัญหาแล้ว แต่ก็ยังจะทำ

5. การดัดแปลงหลอด D2 ซึ่งเป็นหลอดที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ โคมไฟหลอดซีนอนโดยเฉพาะ เพื่อให้ใส่ลงไปแทนหลอด H1/H4 ได้ มันไม่เห็นผลตอนใช้ปกติ, ในเมืองหลวง, หรือตอนใช้ใหม่ๆ (กำลังเห่อ)
แต่พอยามไม่ปกติ (ฝนตก, รถสวนเขวี้ยงก้อนหินใส่) .. จะทำอย่างไร?

ต้องปรับองศาไฟ ให้ลงต่ำสุดเท่าที่จะต่ำได้

พอปรับองศาไฟลงต่ำ ไฟสูงก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะโคมไฟที่ใช้หลอด H4 มันควบคุมลำแสงทั้งไฟสูงและไฟต่ำ

6. ก้นหลอดมีไส้ (ฮาโลเจน) มันเล็กนิดเดียว (ราวๆ 25 มิล) ในขณะที่ฐานหลอด D2 มันไม่เล็กนา การยัดซีนอนลงไปในโคมฮาโลเจนให้ได้ มันฟิตเปรี๊ยะทีเดียว .. แต่ก็พอยัดไหว?? ดูรูปหลอด D2 ข้างบนให้ดีๆ จะเห็นว่า มันมีลวดตัวนำที่หุ้มด้วยเซรามิคอยู่ .. เห็นไหมครับ
เซรามิคนั่น แสนจะบอบบาง .. แต่ต้องทนความร้อนสูงให้ได้ (สองร้อยกว่าองศา) และทนแรงดันสูงให้ได้ด้วย (สองหมื่นโวลท์) ถ้ามีรอยแตกนิดเดียว ถ้าเปลี่ยนหลอดไม่ทัน .. เตรียมเปลี่ยนบัลลาสท์ใหม่ได้เลย
เพราะการจะถอดออกมาเอาเทปพัน .. ยังหาเทปที่ทนแรงดันสองหมื่นโวลท์ไม่ได้เลยอ่ะ

7. ฐานหลอด D2 หนะ ร้อนร้อยกว่าองศานะจ๊าาาาาาาาา
จะดัดแปลงให้ใส่แทนหลอด H อะไรก็เหอะ .. เอาอะไรยึดติดกับฐาน H หละ?
อีพ็อกซี่ทั่วๆไป มันทนได้แค่ 80-100 องศาเท่านั้น บางยี่ห้ออาจทนได้ถึง 120 องศา

ใครหาอีพ็อกซี่ ที่ทนได้ 250 องศามั่ง? จะได้เอามาดัดแปลงมั่ง ใช้ไป ใช้ไป ... อีพ็อกซี่ทนไม่ไหว ก็สะเทือนขยับไปตามเรื่อง และอีกไม่นาน .. ได้เปลี่ยนหลอด ของมันบอบบางจะตาย

8. พวกแปลงๆหลอดมาใส่ รู้มั่งไหมเอ่ยว่า ทั้ง Phillips และ Osram (ผู้ผลิตหลอดรวมแล้วกว่า 80% ของทั้งหมด) ... พูดถึงเรื่องแนวการวางหลอดไว้ว่าอย่างไร?
หลอดจะต้องอยู่ในแนวราบ เอียงได้ไม่เกิน +/- 10 องศา ภายในหลอด ตอนทำงานหนะ .. อุณหภูมิหลายพันองศา แรงกดดันสามสิบสี่สิบเท่าบรรยากาศ ทุกอย่างอยู่ได้ด้วยสมดุลย์ ถ้าวางเอียงเพี้ยนจากแนวระดับ แผ่นโลหะขั้วหลอด (pinch) จะได้รับความร้อนมากกว่าปกติ หรือไหม้ หรือระเหย ทำให้แสงเริ่มออกมาเป็นสีเหลืองๆ ก่อนจะเสียไปในเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงหลังใช้งาน หรือ หลอดร้าวเสียไปเลย

9. พูดถึงสองยักษ์ใหญ่นั่น ไม่มีเจ้าไหนที่ผลิตหลอด H ออกมาซักเจ้า ขืนผลิต .. โดนทั้งรัฐบาลอเมริกา และ EU ฟ้องล่มจมเด็ดๆ EU และ USA ห้ามติดตั้งหลอด xenon (หลอด D) ในโคมไฟที่ออกแบบมาให้ใช้กับหลอด H

10. พูดถึงเรื่องแปลงหลอด ระวังให้ดีนะ .. การตัดยางหุ้มท้ายขั้วหลอด เป็นเรื่องต้องห้าม พอๆกับวางบัลลาสท์ให้โดนน้ำได้ ทั้งบัลลาสท์ และหลอด เป็นโรคกลัวน้ำอย่างรุนแรง ลำพังความชื้นจากฝน จากหมอก มันไม่เท่าไหร่หรอก แต่ถ้าโดนน้ำฉีดล้างห้องเครื่องเข้าไป ... ฮิฮิ ... บรึ้ม! สองหมื่นลงถังขยะ!!

11. บริษัทยักษ์ กลัวโดนฟ้อง .. เสปกเลยต้องระบุชัดๆ หลอดซีนอน เปิดปิดบ่อยไม่ได้ แค่การเปิด-ปิด เกินสามครั้งต่อชั่วโมง จะทำให้อายุหลอดลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง วัยสะรุ่นบ้านเรา ไม่รู้ ... ต๊าดเครื่องบรึ้นไปหน้าปากซอย ดับเครื่อง แล้วบรึ้นใหม่ไปมหา'ลัย ก่อนไปรับสาว ฯลฯ ชั่วโมงนึงเปิดปิดเป็นสิบหน .. พังอะดิ
ม่ายเป็นไร .. ร้านขายหลอด ยังไม่รู้เรื่องนี้... ร้านดีๆ ก็รับเคลม (พวกขายหลอดในเน็ต อย่าเอาปืนมายิงผมหละ)

12. ข้อที่หนึ่งโหลพอดี คำเตือนอันตรายข้อสูดท้าย (ใครจะโดนก่อน) หลอดซีนอน เป็นของอันตรายมาก
แรงดันไฟสูงมาก ความร้อนสูงมาก แรงดันภายในหลอดตอนทำงานก็สูงมากๆๆเช่นกัน

การทดลองว่าหลอดใช้ได้หรือไม่ ต้องใช้เวลาในการเปิดหลอด ไม่น้อยกว่า 30 วินาที
ถ้าหลอดมีข้อบกพร่อง เช่นเซรามิคที่หุ้มเส้นลวดข้างหลอดแตก ไฟสูงรั่ว
ถ้าหลอดเปื้อนเหงื่อ หลอดจะรั่ว
ถ้าวางหลอดไม่ได้ระดับ หลอดจะร้าว ขั้วจะไหม้ แรงดันในหลอดจะสูงเกิน ฯลฯ

เมื่อรวมทั้งหมดนี้ หลอดซีนอนที่ทำงานอยู่ และแสงไฟติดเต็มที่ พร้อมที่จะระเบิดใส่คุณ

โปรดใช้ความระมัดระวังในการทดสอบหลอด

13. ข้อที่สิบสาม โชคร้าย จะทำอย่างไร ถ้าหลอด หรือบัลลาสท์ เกิดเสียไปข้างหนึ่ง?
ใช้หลอดเดิม? .. สวย เท่ห์ตายหละ .. ซีนอนสีฟ้าข้าง หลอดมีไส้สีเหลืองซีดๆอีกข้าง
เปลี่ยนหลอด xenon ใหม่? ฮิฮิฮิ .. ไม่รู้หละสิว่า ... ค่า K ของหลอดซีนอน เปลี่ยนไปตามอายุการใช้งาน .. หลอดสองข้าง ข้างหละสี ... ขนาดหลอดยี่ห้อเดียวกัน ผลิตต่างวันเวลา สียังเพี้ยนเลย (ไปถามพวกใจกล้าๆ ใน racingweb ดูดิ .. เปลี่ยนหลอดที น้ำตาตก) -------------------------------------
อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม
ค่า K ยิ่งสูง ยิ่งสวย และยิ่งไม่เหมาะกับการใช้งาน โดยเฉพาะเจอฝนเจอหมอก
กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ส่วนถ้าเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซลไม่ว่าจะเปลี่ยนโบใหญ่ แต่งปั้มเพียงใด
มาตรฐานการวัดควันดำ ต้องไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบกระดาษกรอง และ 45 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเครื่องวัดแบบหาความทึบแสง
ซึ่งรถยนต์ที่มีอายุเกิน7 ปี ต้องได้รับการตรวจวัดค่า Co และ Hc จาก ต.ร.อ
ดังนั้นจะโมเครื่องแค่ไหนแต่งเครื่องอย่างไร ถ้าการเผาไหม้หมดจด Co และ Hc ผ่านก็ถือว่าถูกกฎหมาย

ถึง จะแต่งรถถูกกฎหมาย แต่ถ้าเอารถ 500 ม้า 1000 ม้า มาวิ่งหวาดเสียวบนท้องถนน หรือไล่แซงผู้อื่นแบบแข่งขัน แบบนี้ของเพียงอย่าให้ถูกจับได้ ซึ่งอาจมีความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43( , 160 วรรคสาม ฐานขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ถูกจับฟ้องศาล ยึดรถ คุมความประพฤติ แบบนี้อาจเรียกว่า จบเกมส์จริงๆ ใช่ไหมล่ะครับ

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

แต่ ถ้าจูนน้ำมันจนหนามาก เจ้าหน้าที่จะใช้ผลการตรวจวัดควันดำ ค่า CO (คาร์บอนมอนออกไซต์) และค่า HC (ไฮโดรคาร์บอน) ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียเป็นข้อกำหนดถึงสภาพเครื่องยนต์
โดยตามพระราชบัญญัติรถยนต์ กล่าวว่า
รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อน 1 พค 2536 ต้องวัดค่า Co ไม่เกิน 4.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 600 PPM
รถยนต์ที่จดทะเบียนหลัง 1 พค 2536 ต้อง วัดค่า Co ไม่เกิน 1.5 เปอร์เซนต์ และค่า Hc ไม่เกิน 200 PPM

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ดัดแปลงเครื่องยนต์ขยายซีซี เปลี่ยนเทอร์โบ โมกล่อง ซัก 1000 ม้า จะผิดหรือไม่
การขยายซีซีเพิ่มความจุถ้าเป็นในสนามแข่งแบบ OneMake Race ถือว่าผิด สั่งถอนการแข่งขันลูกเดียว (จบเกมส์)
แต่ ถ้าเป็นรถใช้งานบนท้องถนน การจะมาวัดกำลังอัด หาขนาดความจุนั้นทำได้ยาก จึงอาศัยการตรวจดูหมายเลขเครื่องยนต์ว่าถูกต้องตามทะเบียนที่แจ้งไว้หรือไม่ เท่านั้น
ถ้าเลขเครื่องถูกถือว่าไม่ผิด จะขยายความจุ เปลี่ยนลูก ยืดข้อ เสริมเสื้อสูบก็ไม่ผิด หรือไม่ว่าจะเปลี่ยนเทอร์โบใหญ่ ใส่กรองเปลือย ตีเฮดเดอร์ เปลี่ยนหัวฉีด
โมกล่องจนได้ 500 ม้า 1000 ม้าก็ไม่ผิด เพียงแต่อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องต้องดูแล้วแน่หนาและมีความปรอดภัย

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

เปลี่ยนเบาะซิ่งใส่เซฟตี้เบล 4 จุด จะผิดอีกหรือปล่าว
เบาะ หรือที่นั่งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร ทาง พ.ร.บ. จริงๆแล้วได้ระบุขนาดความกว้างยาวของเบาะเอาไว้ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องในการระบบุจำนวนผู้โดยสาร
เบาะแต่ง หรือเบาะไฟเบอร์ ส่วนมากมีความถูกต้องในเรื่องขนาด แต่ถ้าถอดเบาะออกไม่ว่าเบาะหลัง ถอดเหลือตัวเดียว หรือสั่งทำเบาะขนาดใหญ่พิเศษแบบนี้จะถือว่าผิด
ส่วนเซ พตี้เบลทางกรมก็ได้ทำหนด มาตรฐานเอาไว้อีกเช่นกัน เบล 4 จุดแม้ว่าจะไม่ถูกต้องในเรื่องของมาตรฐาน แต่ถ้ามีการยึดแน่นหนา ก็อนุโลมว่าผ่าน แต่ถ้าใส่เบล 4 จุด 8 จุด แล้วไม่คาด แบบนี้ถือว่าไม่ผิดพระราชบัญญัติหรอกครับ แต่ผิดกฎหมายจราจรถูกจับ เสียทรัพย์ อีกแ้ล้วครับ

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตาม กฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน
ซึ่งไม่ได้ ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มี กระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไขอีกเช่นกัน

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือปล่าว
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น
ส่วน การตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ
รวมถึงการความแน่หนา(เช่นเอามือจับแล้วโยก ได้)ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่นมีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน
ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถ ออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ขอหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

เปลี่ยนดิสเบรกหลังใส่หลังคาซันรูป ผิดจริงหรือ
การ เปลี่ยนหลังคาซันรูปส่วนมากต้องมีการดัดแปลงเช่น การเจาะหลังคา หรือเปลี่ยนหลังคาใหม่แบบนี้ทางกรมขนส่งจะมองว่า เป็นการแก้ไขดัดแปลง ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ แบบนี้ต้องมีใบเสร็จหลังคา รูปถ่ายขั้นตอนการติดตั้ง และใบรับรองวิศวกร และต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกก่อนถึงจะไม่ผิด
ส่วนการเปลี่ยนดรัมเบรก เป็นดิสเบรกหลัง เรื่องนี้ไม่มีกฎออกมาชัดเจนจึงอาศัยการพินิจจากเจ้าหน้าที่กรมขนส่ง ซึ่งแต่ละเขตขนส่งต่างก็มีดุลพินิจไม่เหมือนกัน ถ้าเจ้าหน้าที่พินิจว่าไม่น่าผ่านก็ต้องหาใบเสร็จติดตั้ง และใบวิศวกรมาแจ้งเช่นเดียวกัน

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ดัดแปลงเป็นขับเคลื่อน4 ล้อ ผิดแน่นอน แก้ไขอย่างไร
ตาม สมุดคู่มือการจดทะเบียนจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นรถยนต์ประเภทไหน (รย.1 –รย. 2 หรือ รย.3)ซึ่งจะมีการระบุจำนวนเพลาไว้ด้วย รถยนต์ที่ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2เพลา) ถ้ามีการดัดแปลงเป็นระบบขับสี่ล้อต้องแจ้งกับกรมการขนส่งเสียก่อน ซึ่งต้องใช้หลักฐาน ใบเสร็จอะไหล่
ใบรับรองวิศวกร นำรถเข้าตรวจหาความถูกต้องปลอดภัยแข็งแรง ก่อนที่อาจจะมีการส่งรถเข้าช่างน้ำหนัก ส่งต่อให้กรมสรรพสามิตคำนวณอัตราภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม
มีตั้งแต่หลัก หลายพันจนถึงหลักหมื่นบาทเสียก่อน มิฉะนั้นจะถือว่า เป็นการดัดแปลงรถยนต์ให้ผิดจากการจดทะเบียนโดยมิได้ขออนุญาต ก็ผิดเต็มๆอยู่ดี

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ส่วนการเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ใน การขับขี่ เช่นมีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ไฟสปอร์ทไลท์และโคมไฟตัดหมอก ผิดกฎหมายหรือไม่ ติดอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคม ไฟสปอร์ทไลท์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็จขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำ ล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลท์หรือ ไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง)ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรและไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลือง หรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่า แนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้อเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่กำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีก็เตรียมเงินไว้อีก 2,000 บาท เป็นค่าปรับครับ

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอน ไฟท้ายขาว โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำ จะผิดแค่ไหน
ปัจจุบัน ไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศาและต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน สวนเรื่องสีของ แต่โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว
ถ้าเป็นสีอื่น เช่นสีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 มาตรา12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

เปลี่ยนท่อไอเสียใหญ่เสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าผิด
จะ เปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่หม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่)ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที
ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า
รถ ยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ.สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียง ที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
(การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
ถ้า ท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดัง คุณต้องถามเจ้าหน้าที่ว่าเสียงดังเกินที่กำหนดไว้เท่าไหร่ (ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีเครื่องวัดใช้หูฟัง ก็พอจะเถียงค่ำๆคูๆเอาตัวรอดได้) แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ส่งรถเข้าเครื่องตรวจวัดแล้วเกินจริง (เถียงไม่ออก) ก็ต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรงไฟเบอร์ ที่เขาว่าผิด ผิดข้อไหน
เปลี่ยนฝากระโปรงไฟเบอร์ถ้าทำเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด
แต่ ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถเจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้
เช่นในกรณี รถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าพินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจรณาในแต่ละบุคล)
แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เสียตังค์อีกเช่นกัน

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ตีโป่งขยายซุ้มล้อ ใส่สปอยเลอร์ แล้วจะผิดไหม
โชคดีครับที่การตีโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ข้อนี้ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนแต่อย่างไร
แต่ ระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งมาก (ยื่นจนหน้าเกลียด) เจ้าหน้าที่มีสิทธิขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็ดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ใส่ล้อยางใหญ่มากๆ 19 - 20 หรือ 22 ผิดหรือไม่
ใน กฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18 -19-20 หรือจะ 22 ไม่ผิดครับ แต่ถ้าใส่แล้วยางเกินออกมานอกบังโคลนล้อมากๆข้างละหลายๆนิ้ว เจ้าหน้าที่บอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาจสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น(เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือ เลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้มแล้ววิ่งจนยางสึกเห็นผ้าใบ ต้องเรียกว่าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุต่อตนเอง ก็ถือว่าผิดเช่นกัน

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ยกสูงมากๆแบบ Big Foot ผิดหรือปล่าว
ใน พระราชบัญญัติรถยนตร์ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นกันว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถสูงมาก มีการดัดแปลงสภาพมากตัวนี้ต้องมีวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมขนส่งทางบกให้เป็นที่เรียบร้อยแต่ถ้าไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินแบบ ล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าเสี่ยงผิดทันที

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

โหลดเตี้ยๆหรือสุดๆ แบบ lowRider เตี้ยแค่ไหนถึงจะเรียกว่า ผิด
ในพระราชบัญญัติรถยนตร์พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้
ยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด
แต่ ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมขนส่ง และผู้วินิจฉัยผล ต.ร.อ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน

กฎหมายน่ารู้ เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถ

ป้ายทะเบียนยาวป้ายปลอมผิดแค่ไหน
ป้ายทะเบียนที่นำมาตัดต่ออัดกรอบใหม่ เป็นป้ายยาว ผิดข้อหาดัดแปลง เปลี่ยนแปลงเอกสารของทางราชการเจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกปรับ ระบุโทษไม่เกิน 2,000 บาท
รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกัน
การไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดเช่นกันต้องโทษปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้าย ที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนด
แต่ ถ้าเป็นป้ายปลอม (ไม่มี ข.ส. ) ขอดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย ผิดต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่100,000 บาท (อ่านไม่ผิดหรอกครับ 1แสนบาท)
และถ้าหมายเลขป้ายไม่ตรงกับ ป้ายวงกลม ไม่ตรงกับสำเนารถเจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับก็มีตั่งแต่หลักแสน จนถึงหลักล้านก็เคยมีมาแล้วครับ
Welcome to POMAUTOLAMPS ,
สมาชิกเข้าระบบ
Username
Password

สมัครสมาชิกใหม



      ไม่มีรายการสั่งซื้อ

สินค้าเด่น



หลอดไฟท้าย LED 2 จุด เบรคกระพริบ

หลอดไฟ T10 12V สีฟ้า

หลอดไฟ T10 12V สีขาว

หลอดไฟ HB5(9007) 65/55W 12V

หลอดไฟ HB1(9004) 65/45W 12V.

ไฟ LED 01-187 สีน้ำเงิน

ไฟ LED 01-187 สีเขียว

ไฟท้าย LED 263 ขาว 4 นิ้ว

ไฟท้าย LED 263 เหลือง 4 นิ้ว

ไฟท้าย LED 263 แดง 4 นิ้ว

ไฟหลังคามีหมวก 01-268 สีน้ำเงิน/แดง

ไฟหลังคามีหมวก 01-268 สีเขียว/เขียว

ไฟเดย์ไล้ท 5 เม็ด มีกล่องควบคุม

ไฟสต๊อปแล้ม LED 01-269

ไฟสปอยร์เลอร์ แอนติส 2011

ไฟ LED 01-187 สีเหลือง

ไฟ LED 01-187 สีแดง

หลอดไฟ H16 12V 19W

ไฟ LED 207 แดง

หลอดไฟ LED H3 12V.

หลอดไฟ LED H4 12V.

การ์ดกระจกมองข้าง

ฝาไฟท้าย L200 ไซโคลน ขาว/แดง

LED daytime Running แบบสองสี

LED daytime Running แบบสองสี

ไฟปาตาเน่

ไฟปาตาเน่หลอดธรรมดาสีแดง

SunShine

SunShine

หลอดไฟเพดาน LED แผ่นใหญ่

หลอดไฟเพดาน LED แผ่นกลาง

หลอดไฟเพดาน LED แผ่นเล็ก

หลอดไฟ LED H1 12V.

ไฟ ร.ส.พ. LED สีขาว

ไฟท้ายกลม LED ปาตาเน่ 140 มม.สีแดง

หลอดไฟ LED H7 12V.

ไฟท้ายติดสปอยเลอร์ปลายดาบ

ไฟท้าย JCM ลายเพชรใหม่

ไฟแฟลทติดบังแดดในรถ

ไฟท้าย ดิสโก้ 3 ตอน

น้ำยาขัดโคมไฟหน้า ไฟท้าย

แตรรถยนต์เสียงกังวาล(10 เสียง)

หลอด LED H11

หลอด LED HB3

หลอด LED HB4

ไฟสต๊อปแล้มจัมโบ้ 2 หน้า มีหมวก

ไฟเพดาน LED TK-6011L VVG

ไฟแฟลทติดกระจกแดงน้ำเงิน VVG

ไฟเดย์ไล้ท HT380

ไฟเดย์ไล้ทแบบ 3 สาย

ไฟเดย์ไล้ท ตัวแอลวีโก้

กรองเปลือยD-MAX และ TFRสแตนเลส

HT2011 ขนาด 6 นิ้ว ฟ้า

ไฟเบรคดวงที่ 3 LED VVG

ไฟท้าย LED กลม 140 มม. 04-540 สีแดง

ไฟท้าย LED กลม 95 มม. 04-541 สีแดง

ไฟท้าย LED วงรี 04-542 สีแดง

ขั้วหลอด D2S

ไฟหน้าเหลี่ยนใหญ่ H4 มีวงแหวน

กรองเปลือยแบบดอกเห็ด HKS

ไฟท้ายโดนัท TFR 97-99

ไฟท้าย KIA

ไฟท้าย NPR LED 24V.

ไฟท้าย VIGO CHAMP LED

ไฟท้าย LED สร้อยเพชร D-MAX-10 FITT

HB4 12V 80W XENON

หลอดไฟ 886 12V. 50W

หลอดไฟ 880 12V. 27W NARVA

DE-MAX ALL NEW 2012

ไฟวงแหวน 6 นิ้ว แบบไม่วิ่ง

ไฟท้าย LED NAVARA 07 FITT

ครอบไฟตัดหมอก TRITON 08/PAJERO 09

ครอบไฟตัดหมอก VIGO 1 FITT

ไฟแฟลท ตัวยู 4 หัว

ไฟแฟลท ตัวยู 2 หัว

LED daytime Running 8X

LED daytime Running 9X

LED daytime Running 2380

แตรลมไฟฟ้า 2 ปาก

แตรด่วนปากยาวกลม SK650

ไฟแฟลทหลังคา HS-51016M Red+Blue

หลอดไฟ H4 ซีนอลยีห้อ HALLA 12V60/55W

หลอดไฟ H4 ซีนอลยีห้อ WURTH 12V 60/55W

ไฟหน้ากลมใหญ่ใส 7 นิ้ว

สปอรต์ไล้ท VIGO 05-08

สปอรต์ไล้ท 624

สปอรต์ไล้ท 623

เบ้าไฟหน้ากลมใหญ่ 7 นิ้ว รถจิ๊ปทหาร

ไฟท้ายรถจิ๊ปหน้ากบทหาร

ไฟท้าย Suit Kia K2700,K3000,K2500

หลอด LED เจดีย์สีส้ม

หลอด LED เจดีย์สีขาว

หลอด LED เจดีย์สีน้ำเงิน

หลอด LED เจดีย์สีแดง

ไฟหน้าฟอรนเทียร์มุมขาว

ไฟหน้านาวารา

ไฟหน้าไททัน 09

ไฟเดย์ไล้ท CL-LED-240WJ

ไฟใต้ท้อง LED สีแดง SL-318

ไฟใต้ท้อง LED สีเขียว SL-318

เสียงไซเรน 5 เสียง

ไฟท้าย LED JCM 24V.

แครหอยโข่ง HALLA แท้ 12 โวลต์

ตัวรองฝากระโปรงหน้ารถให้สูง

์NAVARA 10

D-MAX 04

โปรเจตเตอร์ VIGO

หลอดเสียบ LED T10 SMD WD 13 เม็ด

หลอดเสียบ LED T10 SMD WD 9 เม็ด

ชุดรีเลย์ โตโยต้า AE-100

หลอดไฟ HID H4 6000K

ฟลอดไฟ HID H7 H1

หลอด LED ชุบเปอร์

ไฟท้ายเบ้นซ์ 2 ตอน

หลอดไฟ H8 H9 H10 H11

หลอดไฟท้าย LED 2 จุด

ไฟตัดหมอก D-MAX 08

หลอดไฟรถยนต์ซีนอล

หลอดไฟ H4 HID C/N

ไฟตัดหมอก VIGO 05

ไฟแต่งรถ SW3044W

ตัวแปลงไฟ 24-12V

สีพ่นไฟสเปรย์

หลอดซีนอล

 
 


Copyright 2005 siamBig All Right Reserved